ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ต้องการเรียนต่ออังกฤษ

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ของประเทศประกอบไปด้วยพื้นที่เกาะ 2 ส่วนใหญ่ คือ เกาะใหญ่ ( Great Britain ) ซึ่งหมายถึงเกาะใหญ่ของอังกฤษ ที่รวมอาณาเขตของอังกฤษ ( England ) เวลส์ ( wales) และสก็อตแลนด์ ( Scotland ) ไว้ด้วยกัน และ เกาะไอร์แลนด์เหนือ ( Northern Ireland ) พื้นที่โดยรวมของประเทศประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีเมืองลอนดอน ( London ) เป็นเมืองหลวงของประเทศสหราชอาณาจักร

รัฐ และเมืองสำคัญ

ประเทศสหราชอาณาจักร ( United Kingdom ) แบ่งเป็นเขต ( Region) ต่าง ๆ ได้อีก 14 เขต ดังนี้ 
1. Cumbria ได้แก่เมือง Keswick 
2. East Anglia ได้แก่เมือง Cambridge , Clacton, Colchester, Norwich , Old Harlow 
3. East Midlands ได้แก่เมือง Leicester, Nottingham 
4. Heart of England ได้แก่เมือง Cheltenham, Coventry , Shrewshury 
5. Greater London ได้แก่เมือง Beckenham, London , Richmond , Wimbledon 
6. Northumbria ได้แก่เมือง Durham , Newcastle Upon Tyne 
7. North West ได้แก่เมือง Chester , Manchester 
8. Scotland ได้แก่เมือง Aberdeen , Dundee, Edinburgh 
9. South ได้แก่เมือง Bournemouth, Portsmouth , Southampton 
10. South East ได้แก่เมือง Brighton/Hove, Canterbury , Eastbourne, Folktone, Hastings , Kent 
11. Thames and Chilterns ได้แก่เมือง Oxford , Reading , Windsor 
12. Wales ได้แก่เมือง Aberystwyth, Cardiff , Swansea 
13. West Country ได้แก่เมือง Bath , Bristol , Exeter , Exmouth, Sidmouth 
14. Yorkshine and Humberside ได้แก่เมือง Harrogate, Leeds, Scarborough

 ฤดูกาล และภูมิอากาศ

      อังกฤษ จัดอยู่ในเขตหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และฝนมักจะตกทางภาคตะวันตกมากกว่าภาคตะวันออก ฤดูกาลจะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ฤดู โดยแบ่งเป็นฤดูละ 3 เดือนดังต่อไปนี้ 
• ฤดูใบไม้ผลิ ( Spring) เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก เกือบทุกวัน บางวันอากาศอาจอบอุ่นด้วยแสงแดดในตอนเช้า และจะเปลี่ยนแปลงเป็นหนาวเย็นหรือฝนตกในช่วงบ่ายได้

• ฤดูร้อน ( Summer) จะเริ่มจากเดือนมิถุนายน – สิงหาคม อากาศส่วนใหญ่จะอบอุ่นตลอดวัน แต่อาจจะมีบ้างที่อากาศเย็น

• ฤดูใบไม้ร่วง ( Autumn) จะเริ่มจากช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน อากาศจะไม่หนาวมากนัก เพราะช่วงเดือนกันยายนยังจัดได้ว่าอากาศจะยังคงเหมือนช่วงฤดูร้อน อากาศจะเริ่มเปลี่ยนแปลงจริง ๆ ประมาณปลายเดือนตุลาคม

• ฤดูหนาว ( Winter) จะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อากาศภายในช่วงนี้จะหนาวมากที่สุด มีหิมะตกในบางพื้นที่ กลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน และมืดเร็วกว่าปกติ

ระบบการศึกษาในเครือจักรภพอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

การศึกษาภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 5 ปีถึง 16 ปี เด็กนักเรียนประมาณ 95% จะเรียนในโรงเรียนรัฐบาล สำหรับผู้ปกครองที่มีฐานะดีและมีรสนิยมสูงมักส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ส่วนนักเรียนต่างชาตินั้นมีสิทธิลงเรียนในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น

ภาคการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับในราชอาณาจักร เริ่มต้นภาคแรก ในราวปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคมของปีที่หนึ่ง และสิ้นสุดราวปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคมของปีถัดไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

 ระดับประถมศึกษา ( Preparatory School)

รับนักเรียนอายุ 5-13 ปี โดยการเรียนการสอนจะเน้นให้เด็กมีทักษะในการเขียนและทักษะด้านตัวเลข เพื่อพัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถตามวัย

การศึกษาในระดับนี้จะมุ่งเน้นการเตรียมตัวเข้าสอบ Common Entrance Examination (CEE) เพื่อก้าวไปสู่การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต่อไป

ระดับมัธยมศึกษา 
โรงเรียนมัธยมของเอกชน หรือ Public School รับนักเรียนตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่สอบผ่าน CEE แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาของเอกชนส่วนมาก เป็นมูลนิธิหรือสถานประกอบการที่มิได้หวังผลกำไร โดยรายได้ของโรงเรียนนั้น มาจากค่าธรรมเนียมการศึกษาและเงินบริจาค โรงเรียนประเภทนี้มีให้เลือกทั้งแบบชายล้วน หญิงล้วน และสหศึกษา ทั้งแบบประจำและไป-กลับ มีโรงเรียนบางแห่ งเปิดสอนเฉพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เช่น ทางด้านดนตรี กีฬาด้วย

ในระดับมัธยมศึกษาทางกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ได้กำหนดให้มีการสอบวัดผลความรู้ และความสามารถ การสอบจะจัดโดยคณะกรรมาธิการอิสระซึ่งมี 5 คณะ ซึ่งผลการสอบดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการสมัครเข้าระดับอุดมศึกษาได้ การสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

•  GCSE (General Certificate of Secondary Education) การสอบระดับนี้จะสอบเมื่อนักเรียนมีอายุประมาณ 16 ปีขึ้นไป นักเรียนต้องเลือกสอบประมาณ 8-12 วิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศ ศิลป ฯลฯ และผลการสอบจะแบ่งออกเป็น 7 ระดับ คือ Grade A, B, C, D, E, F และ G นักเรียนที่สอบได้ Grade C ขึ้นไปจึงจะถือว่าสอบผ่าน นักเรียนที่สอบ GCSE จนได้วุฒิบัตร สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรสายสามัญ " A" Level ได้ หรือหลักสูตรสายวิชาชีพ Advanced GNVQ อีก 2 ปี

•  GCE A Level (GCE Advanced) เป็นการสอบวัดผลความรู้ของนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป วิชาที่สอบมีให้เลือกกว่า 50 วิชา โดยส่วนใหญ่จะสอบเพียง 2-3 วิชาที่มีความสัมพันธ์กัน คือ เลือสอบทางด้าน Science หรือทางด้าน Humanities ผลการสอบแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ A, B, C, D และ E ซึ่ง Grade ทั้ง 5 ระดับนี้ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด แต่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะรับพิจารณารับผู้ที่มีผลการสอบในระดับ C ขึ้นไป แต่มหาวิทยาลัยบางแห่งอาจจะรับผู้ที่ได้คะแนนระดับ A และ B สำหรับผลสอบ GCE "A" Level นี้เป็นเกณฑ์ที่สถานศึกษาใชัในการพิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา

ระดับอาชีวศึกษา 
เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นสำหรับนักเรียนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปที่ไม่ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการเพียงคุณวุฒิวิชาชีพต่างๆ ในการทำงานสายอาชีพ สถาบันการศึกษาด้านอาชีวศึกษานี้ มีทั้งของรัฐบาลและของเอกชน

สถาบันการศึกษาของรัฐบาล มีประมาณ 500 แห่ง เปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ การโรงแรม 
การเกษตร วิศวกรรม ช่างเทคนิค ฯลฯ สถาบันการศึกษาของรัฐบาล ได้แก่

ในประเทศอังกฤษและเวลส์ การศึกษาระดับอาชีวะจะได้วุฒิบัตรจาก Business and Technician Education Council (BTEC) ส่วนในสกอตแลนด์ จะได้รับวุฒิบัตรจาก Scottish Vocational Education Council (SCOTVEC) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ คือ

•  First Certificate/Diploma (FC/CD) เป็นการศึกษาที่ต้องการช่วยเหลือผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนที่มีอายุเกินกว่า 16 ปี โดยจะได้รับประกาศนียบัตร GCSE เพียงไม่กี่วิชาหรืออาจจะไม่ได้รับเลย ซึ่งต้องการจะทำงานในสายวิชาชีพต่างๆ เป็นหลักสูตรการศึกษา 1 ปี เมื่อเรียนจบแล้วสามารถเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปได้

•  National Certificate/Diploma (NC/ND) เป็นการศึกษาในสายวิชาชีพที่ทีคุณวุฒิสูงกว่า FC/FD ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี โดยรับผู้ที่มีคุณวุฒิ FC/FD หรือประกาศนียบัตร GCSE อย่างน้อย 4 วิชา ผู้ที่จบการศึกษาระดับ NC/ND นี้ นอกจากจะมีวุฒิบัตรวิชาชีพแล้ว ยังเทียบได้กับ GCE "A" Level ด้วย และหากได้คะแนนดีมาก ก็สามารถเรียนต่อในระกับปริญญาตรีได้ด้วย

•  Higher National Certificate/Diploma (HNC/HND) เป็นการศึกษาในระดับสูงสุดของระดับอาชีวศึกษา ใช้ระยะเวลาในการเรียน 2 ปี และถือว่าการศึกษาในระดับนี้เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วยเช่นกัน หลักสูตรนี้รับสมัครผู้ที่จบการศึกษา NC/ND หรือผู้มีคุณวุฒิ GCSE 3 วิชา + GCE "A" Level 1 วิชา ผู้ที่จบการศึกษาระดับนี้เทียบเท่ากับอนุปริญญาของไทยแต่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี 1 ชั้น ทั้งนี้สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีโดยใช้เวลาศึกษาอีก 2 ปี แต่ผลการเรียนจะต้องอยู่ในขั้นดีเยี่ยม

สถาบันอาชีวศึกษาของเอกชน ควรเลือกสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจาก The British Accredition council for Further and Higher Education (BAC) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าเป็นสถาบันที่มีการเรียนการสอนที่เชื่อถือได้ สำหรับวุฒิการศึกษาที่ได้รับ จะได้เพียงประกาศนียบัตรเท่านั้น

สถาบันการศึกษาของเอกชน ได้แก่

•  Tutorial College ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นหนักเฉพาะวิชาที่สอบ GCSE และ GEC "A" Level เปิสอนนักเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลและจำกัดจำนวนนักเรียนในแต่ละหลักสูตรด้วย ดังนั้นนักเรียนจะมีโอกาสซักถามข้อสงสัยอย่างใกล้ชิด และไม่ต้องเสียเวลาเรียนวิชาอื่น หากไม่ได้ใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย โดยปกติจะใช้เวลาเรียน 2 ปี ก็สามารถสอบ GCSE และ GCE "A" Level ได้ นอกจากนี้สถานศึกษาบางแห่งอาจมีหลักสูตรคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ เลขานุการ

•  College หรือ College of Higher Education เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน เปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ เช่น บริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ บัญชี วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งจะได้รับคุณวุฒิประกาศนียบัตร BTEC First หรือ Higher National Diploma (FD/ND/HND)

•  Secretarial College สอนวิชาพิมพ์ดีด ชวเลข ธุรกิจ เลขานุการ และงานทั่วไปเกี่ยวกับสำนักงาน สำหรับสถานศึกษาประเภทนี้ ให้คุณวุฒิประกาศนียบัตรของโรงเรียนเอง หรือ Pitman หรือ London Chamber of Commerce โดยทั่วไปใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี บางแห่งจะมีหลักสูตรเร่งรัดใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี หรือ 2 ปี เนื่องจากรัฐบาลของอังกฤษไม่ได้รับรองวิทยฐานะสถานศึกษานี้ ทางสถานศึกษา ได้พยายามจัดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนไปสอบประกาศนียบัตร ของสมาคมวิชาชีพต่างๆ เช่น 
- Royal Society of Arts 
- London Chamber of Commerce and Industry

ค่าเล่าเรียน (โดยประมาณ)

ค่าเล่าเรียน / ปี อังกฤษ GBP$
ภาษาอังกฤษ 8,000 - 12,400
มัธยมศึกษา 7,000 - 12,000
ประกาศนียบัตร/อนุปริญญา 7,700 - 15,000
ปริญญาตรี : ศิลปศาสตร์ 8,200 - 12,000
ธุรกิจ 9,600 - 13,500
วิทยาศาสตร์/วิศวกรรม 9,000 - 25,000
ปริญญาโท :ศิลปศาสตร์ 8,200 - 12,000
ธุรกิจ 10,000 - 37,000
วิทยาศาสตร์/ วิศวกรรม 9,500 - 22,500
ปริญญาเอก 10,000 - 22,500
ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก, อาหารและการเดินทาง 9,000 - 12,000
(ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 
นักเรียน นักศึกษาควรสอบถามเพิ่มเติมจากสถาบันที่ต้องการศึกษาต่อ)

Accommodation/Visa ที่พักและวีซ่า

รูปแบบของที่พักสำหรับนักศึกษาต่างชาติ  จะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล  แต่สำหรับที่พักชั่วคราวในช่วงแรก  ควรให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้จัดหาที่พักให้เนื่องจากที่พักส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้สถานศึกษา  ทำให้ได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนที่เรียนในสถาบันเดียวกัน  ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเดินทางน้อย  จึงมีเวลาทำความคุ้นเคยกับท้องถิ่นใหม่ๆ  และจะได้พักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย 
โดยทั่วไปแล้วที่พักที่ทางสถาบันจัดหาให้จะมีราคาไม่แพง  โดยปกติค่าเช่าที่พัก  หรืออพาร์ตเมนท์ของมหาวิทยาลัยแบบไม่รวมอาหารจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนละ $180-$360  แต่ถ้ารวมอาหารด้วย  จะอยู่ในช่วงประมาณเดือนละ  $360-$600  ส่วนห้องแบ่งเช่าในบ้านจะอยู่ในช่วงเดือนละ  $200-$380 ในขณะที่นักศึกษาซึ่งพักอาศัยกับครอบครัว(รวมอาหารแล้ว) จะเสียค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนละ $450-$550  ราคาแฟลต 1 ห้องนอนใจกลางเมืองลอนดอนมีตั้งแต่ $800-$1000 ต่อเดือน  อย่างไรก็ดีนักศึกษาสามารถหาที่พักถาวรได้ในภายหลัง  โดยสามารถขอความช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษา หรือหาด้วยตัวเอง  รูปแบบของที่พักก็มีทั้งของเอกชน  และหอพักของสถาบันการศึกษา  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว  สถาบันการศึกษาหลายแห่งจะรับประกันที่พักสำหรับนักศึกษาในปีแรก 
สำหรับหอพักนักศึกษา  จะมีทั้งแบบห้องนอนส่วนตัวและแบบที่ต้องอยู่ร่วมกับนักศึกษาอีกคน  ส่วนห้องน้ำมักเป็นห้องน้ำรวม  แต่สถาบันหลายแห่งก็มีห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว  สำหรับนักศึกษาปริญญาโท หรือนักศึกษาผู้ใหญ่  หอพักบางแห่งอาจมีอาหารเช้าและเย็นจัดไว้ให้ด้วย  แต่บางแห่งนักศึกษาจะสามารถทำอาหารเองได้โดยใช้ครัวร่วมกับนักศึกษาคนอื่น  นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาบางแห่ง  ที่มีบ้านสำหรับนักศึกษากลุ่มเล็กๆ  หรือแฟลตสำหรับนักศึกษาที่มีครอบครัวแล้ว

วีซ่านักเรียน


คุณสมบัติในการขอวีซ่านักเรียน 
- ต้องแสดงให้เห็นว่าท่านได้รับการตอบรับในการเข้าศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันที่ได้จดทะเบียน และได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของสหราชอาณาจักร
(ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dfes.gov.uk/providersregister)
- ท่านต้องแสดงให้เห็นเห็นว่ามีความตั้งใจที่จะออกจากประเทศอังกฤษเมื่อท่านศึกษาสำเร็จ
สามารถขอแบบคำร้องวีซ่าได้ที่ไหน 
- ขอแบบคำร้องวีซ่าและยื่นแบบคำร้องได้ที่  ศูนย์รับแบบคำร้องวีซ่าอังกฤษ(ชั้น 2 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าท์ ใกล้รถไฟฟ้าราชดำริ) หรือ ดาวน์โหลดจาก www.vfs-uk-th.com/images/VAF3.pdf โดยใช้แบบคำร้อง VAF-3

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นแบบคำร้องวีซ่าอังกฤษ 
1. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา ซึ่งเหลืออายุการใช้งานได้เกิน 6 เดือน และหนังสือเดินทางเล่มเก่าทุกเล่มที่มี 
2. แบบฟอร์ม VAF3 หรือ VAF 1 กรอกรายละเอียดครบถ้วนด้วยภาษาอังกฤษ และลงลายมือชื่อด้วยตนเอง 
3. รูปถ่าย รูปถ่ายหน้าเต็ม ไม่สวมแว่นตาดำ หมวก และไม่มีสิ่งปกคลุมตามศีรษะ (ยกเว้นกรณีต้องใส่ตามศาสนา) จำนวน 1 รูป
4. หลักฐานส่วนบุคคล 
สำเนาบัตรประชาชน ใบเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส/ใบหย่า ทะเบียนบ้าน 
5. หลักฐานการศึกษาที่ผ่านมา 
6. หนังสือตอบรับจากสถาบันที่ต้องการไปศึกษาในสหราชอาณาจักร 
7. หลักฐานการชำระค่ามัดจำหรือค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง 
8. หลักฐานทางการเงินของผู้สนับสนุนทางการเงิน 
9. หลักฐานที่พักอาศัยระหว่างการศึกษา ระบุชื่อ ที่อยู่ หรือ สัญญาเช่า 
10. เอกสารผลตรวจสุขภาพ 
ผู้ที่อยู่เกิน 6 เดือน หรือ มีอายุ 11 ปีขึ้นไป จะต้องขอใบรับรองการปลอดเชื้อวัณโรคจาก IOM
11. ค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า
12.ยื่นเอกสารขอวีซ่าด้วยตนเอง  พร้อมสแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูปดิจิตอล ได้ที่ศูนย์รับแบบคำร้องวีซ่าอังกฤษ  ชั้น 2

ค่าวีซ่า

Visitor Visa (up to 6 months) 3,686 THB
Special Visitor : Student Visiton (up to 6 months) 3,886 THB
Tier 4 (general) Student  8,410 THB

 

การทำงานระหว่างการศึกษา 
- นักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร ในหลักสูตรเต็มเวลาเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป สามารถทำงานได้ 20 ชม./สัปดาห์ในช่วงเปิดการศึกษา หรือทำงานแบบไม่จำกัดชั่วโมงในช่วงปิดภาคการศึกษา
- บุคคลใดก็ตามที่ทำงานในสหราชอาณาจักร จะต้องชำระภาษี ดังนั้นเมื่อนักศึกษาสามารถหางานทำได้   ต้องสมัครเพื่อขอหมายเลขประจำตัว NI ที่สำนักงาน Benefits Agency ในท้องถิ่นนั้นๆ โดยอาจใช้เวลา 16 สัปดาห์จึงจะได้รับหมายเลขประจำตัว

 

จะยื่นขอวีซ่าเมื่อไหร่? 

ท่านสามารถยื่นขอวีซ่าทุกประเภทได้ล่วงหน้า 3 เดือนจากวันที่ท่านต้องการเดินทางไปสหราชอาณาจักร เราไม่แนะนำให้ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่ายืนยันการเดินทางก่อนได้รับวีซ่า 

ยื่นขอวีซ่าอย่างไร?

ขั้นตอนที่ 1 – ตรวจสอบว่าท่านต้องขอวีซ่าหรือไม่ 

ไปที่หน้า 'Do I need a visa' ในเวปไซต์ของ UK Border Agency เพื่อดูว่า ท่านต้องขอวีซ่าหรือไม่ ถ้าต้องขอ ท่านควรจะทำตามขั้นตอนด้านล่าง เราไม่แนะนำให้ท่าน ยืนยันการเดินทางก่อนได้รับวีซ่า


ขั้นตอนที่ 2 – อ่านข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าที่ท่านต้องการยื่น 

ก่อนตัดสินใจยื่นวีซ่าประเภทใด ท่านควรทำความเข้าใจกับข้อมูลของวีซ่าประเภทนั้น และกฎการเข้าเมือง

ขั้นตอนที่ 3 – กรอกใบคำร้องขอวีซ่า 

ท่านควรยื่นใบคำร้องขอวีซ่า 1 ใบสำหรับแต่ละบุคคล รวมถึงเด็กด้วย

ท่านสามารถกรอกใบคำร้องขอวีซ่าได้ 2 วิธี แต่สำหรับวีซ่าไปอยู่ถาวร, วีซ่านักเรียนแบบ Tier 4 และผู้ติดตามควรกรอกแบบคำร้องออนไลน์เท่านั้น 
แบบคำร้องขอวีซ่าออนไลน์
กรอกใบคำร้องขอวีซ่าจากระบบออนไลน์
ท่านควรจะแน่ใจว่าเลือกประเภทวีซ่าที่ตรงตามวัตถุประสงค์การเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง 
ส่วนที่ 1 และ 2 มีความสำคัญต่อการพิจารณาคำร้องขอวีซ่า ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้ต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์
พิมพ์ใบคำร้องของท่านทุกหน้าบนกระดาษที่มีคุณภาพดี และข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน(ไม่เกินจากหน้ากระดาษ) จากกนั้นนำไปยื่นที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า และอย่าลืมเซ็นต์กำกับ.
หลังจากท่านเก็บข้อมูล และส่งแบบฟอร์มออนไลน์แล้ว ท่านจะได้รับอีเมล์พร้อมกับหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย GWF ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในอนาคต. 
แบบคำร้องขอวีซ่า
ท่านสามารถดาวน์โลดใบคำร้องขอวีซ่า โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ท่านควรพิมพ์ใบคำร้องขอวีซ่าบนกระดาษคุณภาพดี และมีข้อมูลครบถ้วน (ไม่เกินจากหน้ากระดาษ)
กรอกใบคำร้องขอวีซ่าเป็นภาษาอังกฤษด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงิน และเซ็นต์กำกับ ท่านควรจะแน่ใจว่าท่านกรอกทุกส่วนของใบคำร้องอย่างถูกต้อง ถ้าท่านกรอกผิด ควรจะแก้ไขข้อมูลนั้นพร้อมเซ็นต์กำกับ

ขั้นตอนที่ 4 – การเตรียมเอกสาร 

ท่านต้องยื่นเอกสารตัวจริงพร้อมสำเนา ถ้าท่านไม่ยื่นเอกสารตัวจริง ใบคำร้องของท่านอาจล่าช้า หรือถูกปฏิเสธ ท่านต้องยื่นเอกสารประกอบพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ เอกสารแปลต้องยื่นพร้อมเอกสารต้นฉบับเพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้

ขั้นตอนที่ 5 – การนัดหมายเพื่อยื่นขอวีซ่า

ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าทุกคน (ยกเว้นผู้ที่ยื่นขอ right of abode / certificate of entitlement, overseas territories และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี) ต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าประเทศอังกฤษในกรุงเทพฯ เพื่อสแกนลายนิ้วมือและถ่ายรูป ถ้าท่านปฏิเสธที่จะสแกนลายนิ้วมือ และถ่ายรูป เราจะไม่รับใบคำร้องขอวีซ่าของท่าน

ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าสามารถจะนัดหมายออนไลน์เพื่อยื่นใบคำร้องที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า หรือไปยื่นที่ศูนย์ฯ ตามระบบคิว 


ขั้นตอนที่ 6 – ชำระเงินค่าวีซ่า

ค่าธรรมเนียมวีซ่า 
ค่าธรรมเนียมต่อไปนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ปอนด์ = 55 บาท ค่าธรรมเนียมวีซ่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

 ประเภทวีซ่า

( ไทย บาท )

 ประเภทวีซ่า- Visit

วีซ่าท่องเที่ยว เข้าออก 1 ครั้ง,2 ครั้ง หรือ หลายครั้งภายใน 6 เดือน

3685

วีซ่าท่องเที่ยว เข้าออก ภายใน 1 เดือน (เฉพาะสัญชาติอินเดียเท่านั้น)

2530

วีซ่าท่องเที่ยว ธุรกิจ เข้าออก หลายครั้ง 1 หรือ 2 ปี

11825

วีซ่าท่องเที่ยว ธุรกิจ เข้าออก หลายครั้ง 5 ปี

22000

วีซ่าท่องเที่ยว ธุรกิจ เข้าออก หลายครั้ง 10 ปี

27500

วีซ่าเยี่ยมญาติ

3685

วีซาธุรกิจ

3685

วีซ่าเพื่อแต่งงาน

3685

วีซ่าไปรับการรักษาพยาบาล

3685

วีซ่านักเรียน(หลักสูตรสั้นๆ,หลักสูตรระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน)

3685

วีซ่า transit เข้าเมือง

2530

ขั้นตอนที่ 7 – ยื่นคำร้องที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า

ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่
อาคารเดอะ เทรนดี้ ชั้น 28 
ซอยสุขุมวิท 13 แขวงคลองเตยเหนือ 
เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

เวลาทำการ


เวลายื่นใบคำร้องขอวีซ่า – การนัดหมายล่วงเวลา:

วันจันทร์ถึงวันศุกร์
08:30-15:00

เวลายื่นใบคำร้องขอวีซ่า – เปิดนอกเวลาทำการ (มีค่าบริการเพิ่มเติม):

วันเสาร์ 
08:30-12:00

เวลาการพิจารณาและส่งเอกสาร:

วันจันทร์ถึงวันศุกร์
10:00-16:00
วันเสาร์
08:30-12:00 

 

เว็บไซต์ : http://www.vfsglobal.co.uk/thailand/vfsglobalintroduction.html 

ท่านจะต้องยื่นใบคำร้องด้วยตนเองเพื่อสแกนลายนิ้วมือ และถ่ายรูป

ท่านควรจะต้องนำเอกสารเหล่านี้มาในวันยื่น:
หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบัน ที่มีรายละเอียดตรงกับข้อมูลในใบคำร้องขอวีซ่าของท่าน โดยต้องมีหน้าว่างสำหรับแปะวีซ่าอย่างน้อยหนึ่งหน้า

โปรดทราบ: ท่านจะไม่สามารถยื่นเอกสารเพิ่มเติมหลังจากยื่นใบคำร้องที่ศูนย์รับคำร้อง ขอวีซ่าแล้ว เราจะพิจารณาเฉพาะเอกสารที่ท่านยื่นพร้อมกับใบคำร้องขอวีซ่าเท่านั้น


ขั้นตอนที่ 8 – รอผลวีซ่า

ท่านสามารถติดตามสถานะของใบคำร้องขอวีซ่าของท่านได้จากหน้าเว็บไซท์ http://www.vfs-uk-th.com

ขั้นตอนที่ 9 – การรับผลวีซ่า

ท่านต้องใช้ใบเสร็จเพื่อที่จะรับผลพร้อมเอกสารที่ท่านยื่นประกอบใบคำร้องขอวีซ่า ท่านอาจให้ผู้อื่นไปรับผลแทนได้ แต่จะต้องแสดงใบมอบฉันทะ พร้อมกับเอกสารแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบขับขี่ ท่านอาจจะให้ทางศูนย์รับคำร้องฯ ส่งเอกสารคืนท่านผ่านทาง courier service.