ผู้ที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ควรทราบถึงระบบการศึกษาซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  1. แต่ละรัฐในอเมริกา มีอิสระในการควบคุมคุณภาพและวางแผนด้านการเรียนการสอนเอง โดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานด้านการศึกษา ในการคอยควบคุมและกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ
  2. การศึกษาภาคบังคับนั้น นักเรียนอเมริกาทุกคน (สัญชาติ อเมริกัน) จะได้รับสิทธิเรียนฟรี จนกระทั่งถึงเกรด 12 (Grade 12) หรือจบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  3. การเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น หากนักศึกษาต้องการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในรัฐที่ตนเองไม่ได้มีถิ่นฐานอยู่แล้ว จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เรียกว่า Out of States Tuition เพิ่มขึ้นมาด้วย
  4. หากนักเรียนต่างชาติ ต้องการ ศึกษาต่ออเมริกา ในระดับประถม และมัธยม จะถูกจำกัดสิทธิให้สมัครเรียนได้เพียงโรงเรียนเอกชน (Private School) เท่านั้น จะไม่สามารถเลือกเรียนในสังกัดโรงเรียนรัฐบาล (Public School) ได้ (อาจมีข้อยกเว้นสำหรับนักเรียนทุนหรือนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Visitor Program) ที่มา ศึกษาต่ออเมริกา โดยถือวีซ่า J-1 เท่านั้น)

การศึกษาในระดับต่าง ๆ

ระดับอนุบาล ( Kindergarten)

kindergarten in usa

ใน สหรัฐอเมริกา การศึกษาระดับอนุบาล ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ แต่เป็นการเรียนเพื่อปรับพื้นฐานในช่วงอายุ 3-6 ปีก่อนที่จะเริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับประถมศึกษา

ระดับประถมศึกษา (Primary School)

Primary-School-in-USA

เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 6 – 11 ปี โดยมีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี เริ่มเข้าเรียนที่ Grade 1 จนถึง Grade 6 (เทียบเท่ากับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในประเทศไทย) จึงจะสำเร็จการศึกษาในระดับนี้ (หมายเหตุ สำหรับนักเรียนต่างชาติที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ด้วยทุนส่วนตัวในระดับประถมศึกษา จะลงเรียนได้เฉพาะในสถาบันเอกชนเท่านั้น)

ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School หรือ High School)

High school education in USA

เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 12 – 18 ปี โดยมีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี โดยจะเริ่มเรียนที่ Grade 7 – 8 ซึ่งเรียกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High School) และต่อด้วย Grade 9 –12 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior High School) โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนในสหรัฐอเมริกาจะเรียนต่อเนื่องจนกระทั่งจบการศึกษาในระดับนี้ที่อายุ 18 ปี (เทียบเท่า วุฒิ ม.6) (หมายเหตุ สำหรับนักเรียนต่างชาติที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ด้วยทุนส่วนตัวในระดับมัธยมศึกษา จะลงเรียนได้เฉพาะในสถาบันเอกชนเท่านั้น)

รายชื่อหมวดวิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้

ระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท

1. วิทยาลัยแบบ 2 ปี หรือ วิทยาลัยชุมชน (Junior Colleges and Community Colleges) การศึกษาในระดับนี้ มี 2 ลักษณะ คือ แบบ Transfer Track และแบบ Terminal/Vocational Track

- Transfer Track เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปีแรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยจะต้องลงเรียน รายวิชาบังคับ (General Education Requirements) จากนั้นนักศึกษาสามารถ โอนหน่วยกิต (Transfer) ไปยังมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อศึกษาต่อในระดับชั้นปีที่ 3 โดยที่เกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่าง 2 ปีนี้ จะเป็นตัว กำหนดว่านักศึกษาจะได้รับการตอบรับ เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ที่ต้องการหรือไม่

- Terminal / Vocational Track เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพ หลังจากที่เรียนจบในระยะเวลา 2 ปีแล้วนักศึกษาจะได้รับ วุฒิอนุปริญญา (Associate Degree) ทางสาขาวิชาที่เลือก

2. วิทยาลัย (Colleges) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) และปริญญาโท ซึ่งหลังจากที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว วุฒิบัตรที่ได้รับจะมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยทุกประการ ไม่ว่าสถาบันนั้นจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตาม

University-and-College-in-USA

3. มหาวิทยาลัย (University) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท และเอกใน สาขาต่าง ๆ

4. สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) โดยส่วนใหญ่ มักจะมุ่งเน้น ที่การเรียนการสอนในสาขา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึง ระดับปริญญาโท และเอก

ศึกษาต่ออเมริกา โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนสอนภาษา

เรียนภาษาที่อเมริกา

ประเทศอเมริกา มีสถาบันสอนภาษาอังกฤษอยู่มากมาย มีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและของเอกชน หลักสูตรที่เปิดสอนโดยส่วนใหญ่เรียกว่า Intensive English Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาต่างชาติที่เดินทางมาศึกษาต่ออเมริกาหรือที่สถาบันของประเทศอื่นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเริ่มเรียนในหลักสูตรนี้

วีซ่าสำหรับ ศึกษาต่ออเมริกา

สำหรับนักเรียนไทยนั้น ไม่ว่าจะมาเรียนที่อเมริกาหลักสูตรอะไรก็ตาม จะต้องขอวีซ่าก่อน ไม่ว่าจะเป็น วีซ่าอเมริกาประเภท F-1 หรือ วีซ่านักเรียนF1 หรือหากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ก็ต้องมี วีซ่านักเรียนประเภท J-1 ก่อน จึงจะสามารถเดินทางมาศึกษาต่อที่อเมริกาได้ ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วีซ่านักเรียนอเมริกา

ปีการศึกษา หรือ ภาคการศึกษา (Academic Year)

ในประเทศอเมริกา นั้น จะแบ่งปีการศึกษาออกเป็นหลายระบบ ระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ก็คือระบบ Semester ซึ่งจะคล้ายกับระบบที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ในระดับอุดมศึกษา

ระบบต่าง ๆ มีชื่อและรายละเอียด ดังนี้

1. ระบบ Semester ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 2 Semesters ซึ่งยาวประมาณ Semester ละ 16 สัปดาห์ และ ภาคเรียนระยะสั้นในช่วง Summer เรียกว่า 1-2 Summer Sessions ซึ่งแต่ละช่วงมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

* Fall Semester เปิดเรียนประมาณปลายเดือนสิงหาคม – กลางเดือนธันวาคม
* Spring Semester เปิดเรียนประมาณต้นเดือนมกราคม – เดือนเมษายน
* Summer Session เปิดเรียนประมาณกลาง เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม (บางครั้งช่วง Summer จะแบ่งครึ่ง เป็น 2 ช่วงสั้น ๆ )

2. ระบบ Trimester ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 3 ภาคการศึกษา ดังนี้

* First Trimester เปิดเรียนประมาณ เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
* Second Trimester เปิดเรียนประมาณเดือนมกราคม – เดือนเมษายน
* Third Trimester เปิดเรียนประมาณ เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม

3. ระบบ Quarter ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 4 Quarter แต่ละ Quarter จะเปิดเรียนประมาณ 10 สัปดาห์ คือ

* Fall Quarter เปิดเรียนประมาณกลางเดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
* Winter Quarter เปิดเรียนประมาณเดือนมกราคม – กลางเดือนมีนาคม
* Spring Quarter เปิดเรียนประมาณกลางต้นเดือนเมษายน – กลางเดือนมิถุนายน
* Summer Quarter เปิดเรียนประมาณกลางเดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม

4. ระบบ 4-1-4 ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 2 ภาคเรียนใหญ่ และคั่นกลางด้วยภาคเรียนสั้น ๆ 1 เดือน เพื่อให้นักศึกษาไป ค้นคว้าด้วยตนเอง หรือออก Field Trip ซึ่งภาคเรียน 1 เดือนนี้ มีชื่อเรียกว่า Interim ระบบ 4-1-4 นี้ เป็นระบบใหม่ที่มีใช้อยู่ในสถานศึกษาที่ อเมริกา ประมาณ 8% ซึ่งประกอบด้วย

* Fall Semester เปิดเรียนประมาณปลายเดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
* Interim ช่วงเดือนมกราคม (1 เดือน)
* Spring Semester เปิดเรียนประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม

ข้อดีของการ ศึกษาต่ออเมริกา

เรียนต่ออเมริกา

  1. การศึกษาของ ประเทศอเมริกาอยู่ในระดับแนวหน้า ซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับ อีกทั้งยังมีสถาบันที่มีชื่อเสียงมาก ยกตัวอย่าง เช่น Harvard University, MIT, Stanford University
  2. หลักสูตรมีให้เลือกเรียนหลากหลาย และมีสถาบันให้เลือกอย่างมากมาย
  3. ได้รับโอกาสการศึกษา โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  4. มีโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรม เทคโนโลยี ของอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญอันดันต้น ๆ ของโลก และแลกเปลี่ยนแนวความคิด เพื่อเป็นประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ในอนาคต
  5. สามารถเลือกรัฐที่อยากจะเรียนได้ตามความเหมาะสมของงบประมาณ ความชอบ และเหตุผลทางด้านภูมิอากาศ
  6. เปิดกว้างทางด้านความคิด ทำให้มีอิสระในการแสดงออก
  7. สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากทาง ก.พ.
  8. ผู้มา ศึกษาต่ออเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาในสถาบันที่กำหนด สามารถขอสิทธิในการอาศัยอยู่ที่ อเมริกา ได้อีก 1 ปี เพื่อฝึกงาน หรือหาประสบการณ์การทำงาน
  9. การขอ วีซ่านักเรียนอเมริกา (วีซ่าF1) สำหรับนักเรียนไทย ไม่ยากจนเกินไป เพราะประเทศไทย และ อเมริกามีความสัมพันธ์อันดี มาเป็นระยะเวลานาน

        หากน้องๆสนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อได้ที่นี้